Last updated: 18 ก.ค. 2563 | 5556 จำนวนผู้เข้าชม |
ลูกกลิ้งลำเลียงแบบใช้แรงโน้มถ่วง (Gravity roller conveyor)
รางลำเลียงประเภทนี้เข้าใจง่ายๆคือ เป็นการลำเลียงหรือส่งวัสดุ(สิ่งของ)ให้เคลื่อนที่(ไหล)บนรางลูกกลิ้งที่ถูกจัดวางในแนวเอียง
นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางเพราะ ใช้หลักการพื้นฐานในการออกแบบ, ใช้งานและการดูแลรักษา ราคาไม่แพง สามารถส่งวัสดุให้เคลื่อนที่ไปได้โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า(ไม่ต้องใช้พลังงานจากภายนอกเข้าช่วย) จึงถือว่าเป็นการได้เปรียบเชิงกล อยากให้วัสดุ(สิ่งของ)เคลื่อนที่เร็วก็เพิ่มมุมเอียง อยากให้วัสดุ(สิ่งของ)เคลื่อนที่ช้าก็แค่ลดมุมเอียง
กรณีที่พื้นราง(ส่วนที่รองรับสิ่งของ)เป็น ลูกกลิ้งตามภาพ จะสามาถใช้ได้กับวัสดุหีบห่อ(Packaged Materials) เท่านั้น
ส่วน กรณีที่พื้นราง(ส่วนที่รองรับสิ่งของ)เป็นแผ่นทึบ เช่น แผ่นไม้กระดาน แผ่นเหล็ก แผ่นพลาสติก จะสามาถใช้ได้กับวัสดุปริมาณมวล(Bulk Materials) และ วัสดุหีบห่อ(Packaged Materials).
การขนถ่ายที่ปล่อยให้วัสดุไหลไปในท่อ ตามความลาดเอียงของท่อ โดยอาศัยแรงโน้มถ่วง ก็ใช้หลักการนี้เช่นเดียวกัน
ดูเหมือนทำง่ายๆ แต่ถ้าจะเอาแบบจริงจังก็ยากครับ!
ปัญหาง่ายๆแต่ตอบยากคือ ต้องใช้มุมเท่าไหร่ ของถึงจะไหล่ได้อย่างเหมาะสม?
โดยหลักการ เรื่องนี้น่าจะคำนวนได้ในทางทฤษฎี
แต่ความจริงคือค่าคงที่ที่ใช้ในการคำนวนในทางทฤษฎี
เขาก็ได้มาโดยการทดสอบภายใต้องค์ประกอบต่างๆตามที่เขาระบุ
ถ้าองค์ประกอบของระบบของเราตรงกับเขาทุกอย่าง ค่าที่คำนวนได้ก็เป็นจริง
แต่ส่วนใหญ่ในความเป็นจริง องค์ประกอบของระบบของเราไม่ตรงกับเขาทั้งหมด
ดังนั้นค่าที่คำนวนได้จึงเป็นเพียงการประมาณค่าเท่านั้น
จากนั้นจึงต้องทวนสอบการคำนวนโดยการทดลอง
โดยทดลองตามองค์ประกอบจริงที่จะใช้งานแล้วค่อยปรับค่ามุมเอียงให้ได้ผลตามที่เราต้องการ
ข้อควรระวังอีกอย่างคือความเร็วสุดท้ายที่ปลายทางต้องไม่มากจนเกินไป
โดยเฉพาะสิ่งของที่มีน้ำหนักมากๆ
ซึ่งสิ่งของจะเริ่มเคลื่อนที่จากความเร็วช้าสุดและจะค่อยๆสะสมความเร็วเพิ่มขึ้นตามเวลาและระยะทางที่วิ่งไป ตามกฏของการเคลื่อนที่ภายใต้แรงโน้มถ่วง(เหมือนเวลาที่เราปล่อยสิ่งของให้ตกลงจากที่สูง เช่น ตึก)
ถ้าหากความเร็วที่ปลายทางมีค่าสูงพอ อาจทำให้สิ่งของของเราเคลื่อนที่มาชนกันแรงจนเกิดการชำรุดได้
รับออกแบบ ผลิต และ ติดตั้ง คอนเวเยอร์
https://www.9cme.com/
https://www.wellroll.co.th/th/หน้าแรก/
http://www.xn--03cdbf8joa.com/ (www.เวลโรล.com)
https://www.facebook.com/wellroll.co.th
https://www.youtube.com/channel/UCgk-uJJq2YMX140GPuNrt9w/videos
https://www.google.co.th/search?q=เวลโรล&ludocid=9501324518778937389&lsig=AB86z5WtkxHcaXmOqioxrGcZhzXZ#lpc=lpc
5 ก.ค. 2567
19 ก.ค. 2567
10 ก.ย. 2567
8 ส.ค. 2567